ณรงค์เอี่ยมประไพ
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

                                    กระเทียม  mail                               

                                                                          

ตั้งแต่สมัยโบราณ กระเทียมได้ถูกนำไปใช้รักษาโรคมากมาย ในระยะหลังได้มีการสนใจในคุณสมบัติที่อาจป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากมีรายงานว่ากระเทียมสามารถลดระดับไขมันในซีรัม ความดันโลหิต และความหนืดของพลาสมายับยั้งการจับเกาะของเกร็ดเลือด เพิ่มการสลายไฟบริโนเจน และขยายหลอดเลือด

แต่ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับสารเคมีของกระเทียม และกลไกในร่างกายและการออกฤทธิ์ยังมีน้อย กระเทียมมีสารประกอบกำมะถันมาก สารประกอบในกระเทียมสดที่พบมาก ได้แก่ Allin, methylcysteine sulfoxide และ r-guutamyl-s-trans-I-propeny cysteine กระเทียมสดทั้งลูกมี Allin เป็นสารประกอบกำมะถันที่สำคัญ ที่สุดและมี เอนไซม์ Allicinase อยู่ภายใน vacuole ของเซลล์ เมื่อกระเทียมสด ถูกบดหรือผ่านกระบวนการแปรรูป allicinase ถูกปลดปล่อยออกมาเปลี่ยน allin เป็น allicin ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญที่สุดของกระเทียม

allin เป็น S-allyl cysteine sulfoxide ไม่มีกลิ่นส่วน allicin เป็น oxide ของ diallyl sulfide สารเคมีตัวนี้ทำให้กระเทียมมีกลิ่นรุนแรงจำเพาะ สารประกอบกำมะถันต่างๆของกระเทียมระเหยได้ง่าย ทำให้กระเทียมรูปแบบต่างๆ ทีใช้เป็นยาสมุนไพร แตกต่างกันมากทั้งในชีวิตและปริมาณ ของสารประกอบกำมะถันและความแรงของกลิ่มกระเทียมรูปแบบเดียวกันก็มีความแตกต่างกันมากใน ชนิดและปริมาณของสารประกอบกำมะถัน

ดังนั้น ประสิทธิภาพของกระเทียมในการลด โคเลสเตอรอลในเลือด จึงไม่แน่นอนและขาดความน่าเชื่อถือ จึงได้มีความพยายามที่จะใช้ allicin equivalent สำหรับ standardize กระเทียม รูปแบบต่างๆ เพื่อใช้สำหรับเปรียบเทียบ

มีรายงาน 4 การศึกษาที่น่าเชื่อถือ 2 การศึกษาสรุปว่า

1. กระเทียมลดโคเลสเตอรอลได้โดยใช้กระเทียมสกัดที่เก็บไว้นาน (Agedgartic extract AGE) 7.2 กรัม (ใกล้เคียงกับกระเทียมสุก 10-15 กรัม) บริโภคเป็นเวลานาน 4-6 เดือน ลดโคเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 6.1 และลด LDL โคเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 4.6

2. ใช้กระเทียมผง(freeze-dried) 900 มก/วัน (เท่ากับกระเทียมสด 2.7 กรัม) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ลดโคเลสเตอรอลได้ร้อยละ 14.2

อีก 2 การศึกษาได้ผลสรุปว่า กระเทียมไม่มีผลต่อระดับโคเลสเตอรอล

1.ใช้กระเทียมผง (freeze-dried) 900 มก/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์

2.ใช้น้ำมันกระเทียม 10 มก/วัน (เท่ากับกระเทียมสด 4-5 กรัม) เป็นเวลา 4 สัปดาห์เช่นกัน

การศึกษาใหม่ด้วยกระเทียมที่ได้มาตรฐานดีขึ้นก็ยังให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน

ณ เวลานี้ จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า การบริโภคกระเทียมจะเป็นประโยชน์สำหรับการรักษา โคเลสเตอรอลสูงได้หรือไม่ แต่เนื่องจากว่ากระเทียมทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย (ส่วนมากเป็นอาการเสียดท้องเล็กๆ น้อยๆ ) ยิ่งกว่านั้นกระเทียมอาจจะช่วยลดความดันโลหิต และการจับเกาะของเกร็ดเลือดได้ และยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระด้วย ดังนั้น หากต้องการรับประทาน ก็ควรเป็นกระเทียมสด วันละประมาณ 1.5-3.0 กรัม พึงระลึกไว้ว่า กระเทียมสด มีกลิ่นแรงมาก กระเทียมรูปแบบอื่นขาดการควบคุมในคุณภาพ จึงไม่แนะนำถ้าคิดจะบริโภคกระเทียม น่าจะบริโภคกระเทียมสดในรูปของอาหาร ซึ่งมีกลิ่นน้อยมากรสไม่จัด แต่ต้องรับประทานปริมาณ 5.-15 กรัม/วัน

 

                                 มะรุม                      

                                                            

มะรุม ป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณ :

ฝัก  -  ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม                                                                                                                                     เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
      - แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้

ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน

"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่” เป็นต้น

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

วิตามินเอ                          บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซี                        ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียม        บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียม    บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงาน  ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

ประโยชน์ของมะรุม
1.ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3.รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7.ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9.รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10.รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
11.เป็นยาปฏิชีวนะ

น้ำมันมะรุม
สรรพคุณ
..ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น

ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม


ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล

จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม 100 กรัม  (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน           26 แคลอรี
โปรตีน             6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน               0.1 กรัม
ใยอาหาร           4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต     3.7 กรัม
วิตามินเอ           6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี           220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน           110 ไมโครกรัม
แคลเซียม         440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส         110 มิลลิกรัม
เหล็ก               0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม       28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม       259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)

ทั้งนี้ กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดย
กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีน
ทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้

                                        

  พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด

         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"

          บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
          จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคล รอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..


จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

อาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมากและบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด กินเก่งขึ้น ตาพร่ามัว เป็นอาการที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าสูงมากๆ อาจถึงกับซึมหรือหมดสติได้ ผู้ป่วยเบาหวานที่น้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก อาจไม่แสดงอาการเลยก็ได้ ฉะนั้นการตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเช่น คนอ้วน หญิงมีครรภ์ ผู้หญิงที่คลอดบุตรมีน้ำหนักแรกคลอดเกิน 4 กิโลกรัม และผู้มีญาติพี่น้อง (โดยสายเลือด) เป็นเบาหวาน คนปกติจะมีน้ำตาลในเลือด อยู่ในช่วง 70 - 115 มิลลิกรัม ต่อ เดซิลิตร น้ำตาลในเลือดต้องสูงเกิน 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จึงจะออกมาในปัสสาวะให้ตรวจพบได้ ดังนั้นการตรวจปัสสาวะอย่างเดียว เพื่อหาเบาหวานจึงไม่เพียงพอ ต้องใช้การตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล


ควบคุมเบาหวานได้อย่างไร รักษาให้หายได้ไหม

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายขาดแต่ควบคุมได้ โดยการดูแลรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่องตลอดชีวิต จุดประสงค์ของการรักษาเพื่อ

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อป้องกันหรือชะลอ การเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ
  2. ให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่อย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติ สามารถประกอบภาระกิจต่างๆ ได้เหมือนคนทั่วไป

การรักษาเบาหวานให้ได้ผลดี จะต้องประกอบด้วย

    การควบคุมอาหาร
    การออกกำลังกาย
    การให้ความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน แก่ผู้ป่วย และญาติผู้ดูแล
    การใช้ยาลดน้ำตาล (อาจไม่จำเป็นในบางราย)

การติดตามผลการรักษา

ผู้ป่วยเบาหวาน ควรติดตามดูผลการควบคุมน้ำตาลว่า ได้ผลดีเพียงใด โดยอาจใช้การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวจปริมาณฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C เป็น Glycosylated hemoglobin) และ ฟรุคโตซามีน (Fructo samin เป็น Glycosylated protein) และการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ

  1. การตรวจน้ำตาลในเลือดผู้ ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี อาจตรวจน้ำตาลในเลือดเดือนละครั้ง แต่ผู้ป่วยเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้ หรือผู้ป่วยตั้งครรภ์ อาจจะต้องตรวจน้ำตาลในเลือดทุกวัน หรือวันละหลายครั้ง ผู้ป่วยอาจตรวจเองที่บ้านได้ โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กพกพาได้ ใช้เลือดที่เจาะจากปลายนิ้ว หยดลงบนแผ่นอาบน้ำยาเข้าเครื่องตรวจ อ่านออกมาเป็นตัวเลข เครื่องมือนี้มีหลายแบบ และผลิตจากหลายบริษัท ราคาก็ต่างๆ กัน การตรวจชนิดนี้สิ้นเปลืองพอสมควร
  2. การตรวจ HbA1C และ Fructosamine ต้องตรวจในห้องปฏิบัติการเท่านั้น HbA1C เป็นน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดง Fructosamine เป็นน้ำตาลที่จับกับโปรตีนในเลือด ค่า HbA1C บอกถึงการควบคุมน้ำตาลในช่วง 4 - 6 สัปดาห์ ก่อนการตรวจ ส่วนค่า Fructosamine บอกถึงระดับน้ำตาลในช่วง 7 - 10 วัน ก่อนตรวจ
  3. การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ อาจใช้ยาเม็ดสำหรับตรวจ หรือใช้แผ่นทดสอบน้ำตาล ตรวจก่อนมื้ออาหาร และก่อนนอน วิธีนี้ใช้ไม่ได้ในคนที่ไตเสื่อม มีข้อเสียคือ บอกระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และน้ำตาลในเลือดจะต้องสูงพอสมควร คือเกิน 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จึงจะตรวจพบได้ ใช้บอกได้คร่าวๆ เท่านั้น

โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างมาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างมาก (ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 500 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิต) มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมาก และควบคุมน้ำตาลไม่ดี โดยเฉพาะในคนไข้ที่ต้องใช้อินซูลินแล้วขาดยา อาจเกิดในคนที่ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าเป็นเบาหวานก็ได้ จะมีอาการอ่อนเพลีย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หายใจหอบ ซึม เลอะเลือน และหมดสติในที่สุด ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในโรงพยาบาล มิฉะนั้นอาจเสียชีวิตได้

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ พบได้บ่อยและอาจรุนแรงจนเสียชีวิต เกิดกับผู้ป่วยที่รักษาด้วยยากิน หรือ ยาฉีดสาเหตุจากการใช้ยามากเกินไป หรือใช้ยาเท่าเดิมแต่อดอาหาร หรือออกกำลังกายมากเกินไป จะมีอาการ หิว หงุดหงิด ปวดศีรษะ ตาลาย ใจสั่น มือสั่น เหงื่อแตก ชาตามปาก อ่อนเพลีย หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ตัวเย็น สับสน (ไม่จำเป็นต้องมีอาการครบหมดทุกอย่าง) ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอาจเป็นลมหมดสติหรือชักได้ ถ้าเป็นตอนกลางคืนขณะหลับจะฝันร้าย และปวดศีรษะในตอนเช้า อาการน้ำตาลต่ำนี้ อาจเป็นอยู่นานหลายวัน ขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้

วิธีรักษา เมื่อเริ่มมีอาการ ให้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 1/2 แก้ว หรือกินน้ำตาล อมลูกกวาด จากนั้นให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพราะอาจต้องปรับยาที่ใช้อยู่ประจำ ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที ป้องกันได้โดยการกินอาหารให้เป็นเวลา กินอาหารเพิ่มก่อนการออกกำลังกายที่หนักๆ หรือนานๆ กินของว่างหรือดื่มนมรองท้องไปก่อน ถ้าต้องเลื่อนเวลาอาหารออกไป

โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง

พบในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหลายปี และควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี น้ำตาลที่สูงอยู่นานๆ นี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เหมือนเป็นอันตรายแอบแฝง กว่าจะรู้ตัวเมื่อเกิดอาการก็สายเกินไป ยากจะรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ โรคแทรกซ้อนเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยต้องการพิการ หรือเสียชีวิต สิ้นเปลืองทั้งเวลา และค่ารักษาพยาบาลเป็นอันมาก

ผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ควรได้ตระหนักถึงอันตรายแอบแฝงต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ การดูแลตนเองที่ดี และการปฏิบัติตัวถูกต้องเท่านั้น ที่จะช่วยป้องกันอันตรายเหล่านี้ได้

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  1. ควบคุมอาหารสม่ำเสมอ
  2. ออกกำลังกาย ตามความเหมาะสมกับสภาวะร่างกาย
  3. ใช้ยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
  4. ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และวิธีปฏิบัติตัว
  5. พบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด เพื่อวัดผลการควบคุมน้ำตาล และตรวจหาโรคแทรกซ้อน
  6. ตรวจน้ำตาลในเลือด หรือในปัสสาวะบ่อยๆ โดยเฉพาะในรายที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี
  7. พกน้ำตาล ทอฟฟี่ หรือลูกกวาดติดตัวเสมอ และใช้ทันทีเมื่อมีอาการน่าสงสัยว่าน้ำตาลต่ำ
  8. หมั่นตรวจเท้าทุกวัน ห้ามสวมรองเท้าคับ
  9. ปรึกษาแพทย์เมื่อ มีอาการเจ็บไข้ มีอาการน้ำตาลต่ำ มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีบาดแผล หรือแผลที่เท้า และเมื่อตั้งครรภ์

 

(Root) 2010115_56384.jpg        (Root) 2010115_56395.jpg


 น้ำว่านหางจรเข้

ความ เป็นมา

             ดูเผินๆอาจเข้าใจว่า ต้นอโลเวร่าเป็นพืชประเภทเดียวกับต้นกระบองเพชร แต่ที่ถูกต้องต้นพืชนี้จัดอยู่ในตระกูลลิลลี่ ( Lily ) มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียลและตอนใต้ ของ
อัฟริกา แยกเป็นพันธ์ต่างๆถึง  300 ชนิด มีทั้งที่ขนาดใหญ่มากและเล็กมาก บางพันธ์สูงเพียงสิบเซนติเมตร ลักษณะของต้นอโลเวร่าคือ มีใบปลายแหลม รอบใบหยัก และมีหนาม เนื้อในมีน้ำคล้ายวุ้น เป็นเมือกเหนียวซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ของมนุษย์ คำว่า อโล (ALOE) เป็นภาษากรีกโบราณ ซึ่งแผลงลงมาจากคำว่า  ALLAL แปลว่า รสฝาดหรือขมในภาษายิว เดิมที่ต้นอโลเวร่าเป็นพืชในเขตร้อน ต่อมาถูกนำไปแพร่พันธ์ทั้งในยุโรปและเอเชีย ชาวจีนโบราณใช้อโลเวร่าเป็นส่วนสำคัญในการปรุงยาสมุนไพรจีนมานานหลายพันปี ส่วนชาวรัสเซียเรียกพืชชนิดนี้ว่า ยาอายุวัฒนะ (The Elixir of Longevity)
และ ในตำรายาของกรีกราวต้นคริสต์ศตวรรษบันทึกไว้ว่า ชาวกรีกได้นำอโลเวร่ามาใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ ผมร่วง โรคในช่องปาก โรคไต  ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ บำรุงผิวและระงับอาการปวด  ประวัติศาสตร์บางตอนจารึก ว่า อริสโตเติ้ลได้กราบทูลพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชให้นำทัพไปยึดเกาะโซโครโต ซึ่งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของอัฟริกา เพื่อนำต้นอโลเวร่ามารักษาบาดแผล ให้กับทหารที่เกิดจากการสู้รบ นอกจากนี้ในคัมภร์ไบเบิ้ล (จอห์น 19:39 )  มี จารึกไว้ว่าน้ำชโลมพระศพพระเยซูมีส่วนผสมของอโลเวร่าอยู่ด้วย

สารอาหาร

สถาบันวิจัยเกี่ยวกับอโลเว ร่า ( Aioe Vera  Research Institute)  ที่เมืองไซเพรส (Cypress)รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่าต้นอโลเวร่าประกอกบด้วยกรดอะ มิโนเรียงตามตัวอักษรดังนี้Alanin.Arginin . Asparaginacid . Glutaminacid . Serin . Glyzin . Histidin . Lysin . Methionin . Plolin . Tyrosin . เกลือแร่  ( Mineral )  อีกทั้ง7 ชนิด คือ Iron . Calcium .  Caiium Carbonate . Magnesium. Mangannese. Sodim. Zine นอกจากนี้อโลเวร่า ยังอุดมด้วยวิตามิน A, B1, B2,B6, B12, C, E, และ choline

สรรพคุณ

ดร.โชเอดะ โมโมเอะ  ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิชีวนะสารที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ได้วิจัยต้นอโลเวร่าเมื่อพ.ศ.  2540 โดยนำสารละลายของอโลเวร่ามากรอง แล้วนำไปแช่แข็ง จากนั้นจึงสกัดเป็นผงแล้วสกัดอีกครั้งด้วยน้ำและแอลกอฮอล์แล้วตรวจวัดทันที พบสารตะกอนเดิมทราบแต่เพียงว่าอโลเวร่ามีสารสองชนิด คือ สารอโลอิน  และสารอะโลไอโมติน แต่ดร. โชเอตะ ได้ค้นพบสารใหม่ที่ออกฤทธิ์เป็นยาอีก3 ชนิด คือ

1.      อะโลติน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา

2.      อะโลติน มีฤทธิ์ยับการเติบโตของเนื้องอก

3.      อโลอูรซิน มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล

ด้วยองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว มาแล้วข้างต้น อโลเวร่าจึงมีคุณประโยชน์สำคัญในการบรรเทาโรคต่างๆดังต่อไปนี้

 

โรค และ อาการ

สรรพคุณ

1.  โรคกระเพาะอาหาร

ใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหารได้ดี ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้

2.โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น

ช่วยในการสมานแผล ใช้รักษาแผลในอวัยวะย่อยอาหาร

3.   ท้องผูก

ยางสีเหลืองที่ผิวใบมีสารอโลอิน กับสารอโลอีนิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

4. ความดันโลหิตสูง

ช่วยให้หลอดเลือดอ่อนนุ่ม และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต

5.  ความดันโลหิตต่ำ

ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายดำเนินไปด้วยดี

6.  ไข้หวัด

ระงับการขยายตัว และทำลายเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของไข้หวัด

7.  หอบหืด

ช่วยขจัดต้นเหตุของการแพ้ (ต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา1-2 เดือน จึงจะเห็นผล)

8.  เบาหวาน

ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร ใช้เป็นยารักษาควบคู่ไปกับยาแผนปัจจุบันจะช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ผลดีขึ้น

9.  โรคตับอักเสบ

ช่วยสลายพิษในร่างกายได้ จึงช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับได้ดี

10.  เมารถ- เมาเรือ

ช่วยระงับประสาทขจัดอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ

12.  แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ใช้ฆ่าเชื้อ ป้องกันอาการอักเสบและการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ และยังกระตุ้นให้ผิวหนังกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็ว

13.  ฮ่องกงฟุต

ช่วยทำลาย และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค บรรเทาอาการปวดและคันได้

14.  ตาปลา

ช่วยให้ผิวส่วนที่หยาบกร้านอ่อนนุ่มขึ้น และกำจัดตาปลาได้

15.  ปวดฟันและโรคเหงือก

ใช้แก้อักเสบ ป้องกันความเจ็บปวดเฉียบพลัน ลดอาการปวดฟันเนื่องจากฟันผุเป็นการชั่วคราว

16.  ช่องปากอักเสบ

ว่านหางจระเข้สามารถฆ่าเชื้อโรคประเภท Steptococcus และเชื้อโรคอื่นๆได้ทำให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้น


 

                         

                                                           คุณตารักษาโรค

                     

                                                           คุณตารักษาโรค

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 20,307 Today: 3 PageView/Month: 47

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...